วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Field Trip วันที่ 4

วันที่ 4 ของการเดินทาง (วันอังคารที่ 7 กรกฏาคม)
และก็เป็นอีกวันที่ต้องตื่นแต่เช้า และเป็นวันสุดท้ายที่จะอยู่ในจังหวัดลำปาง จึงต้องเก็บข้าวของและหอบกระเป๋าขึ้นรถเพื่อย้ายจังหวัด แต่ในช่วงเช้ายังต้องตระเวนศึกษาวัดต่างๆในตัวเมืองลำปาง เริ่มจากวัดแห่งแรก คือวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม เป็นวัดที่ มีวัด 2 วัดอยู่ในวัดเดียวกัน จึงได้มีการตั้งชื่อโดยเอาชื่อของ วัดพระแก้วดอนเต้า กับ วันสุชาดาราม รวมกัน เป็น วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม







โดยวัดแรกคือวัดพระแก้วดอนเต้า เป็นศิลปเชียงใหม่ ซึ่งวิหารเป็นศิลปล้านนาอีกแบบหนึ่ง โดยช่องหน้าต่างใช้ลูกกรง







ช่อฟ้าไม่เหมือนใครโดยจะขึ้นตรงและเป็นช่องโปร่ง สัดส่วนสวยงามได้จังหวะ ประตูกลางยกกำแพง การลดชั้นหลังคาเชื่อว่า ฐานะหนึ่งของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ใช่คน




อุโบสถที่บูรณะใหม่




ศาลาวัดสุชาดาราม

วิหารทางเหนือ จะไม่มีศาลาการเปรียญ โบสถ์มีขนาดเล็กเพราะมีพระน้อย จากนั้นก็เดินไปยังวัด สุชาดาราม






เป็นวัดที่ศาลาที่มีศิลปของพม่าที่มีการผสมผสานศิลปแบบตะวันตกเข้าไปใช้ในการประดับตกแต่ง






ในส่วนต่างๆของศาลา จากการสอบถามคุณลุงท่านหนึ่ง ซึ่งเคยบวชอยู่ที่วัดแห่งนี้ได้เล่าว่า ศาลานี้ได้สร้างเพื่อถวายแก่เจ้าพ่อบุญวาทย์วงค์มานิตย์ ผู้ครองเมืองเขลางค์นคร ในสมัยอดีต ตัววิหารวัดสร้างโดยครูบาศรีวิชัย เกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคเหนือ เป็นการสร้างที่มีการคำนึงศิลปล้านนาได้เป็นอย่างดี ภายหลังได้มีการบูรณะด้วยการทาสีใหม่ทำให้ความขลังของวิหาร ดูเปลี่ยนไป จากนั้นก็เดินทางกลับไปยังรถเพื่อไปยังวัดปงสนุก(ใต้)



ซึ่งอยู่ในตัวเมืองและไม่ไกลจากวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดารามมากนัก โดยวัดปงสนุกนี้ เป็นวัดที่ มีการสร้างที่ไม่เน้นความประณีต วิจิตร มากเท่าไหร่ ภายหลังได้มีการบูรณะ

โดยคงเหลือของเก่าไว้เปรียบเทียบ แต่ดูแล้ว



กลับทำให้ความรู้สึกที่แปลกๆ กับการบูรณะของวัดนี้ เนื่องจากมีสีสันที่สดใส ฉูดฉาดมากเกินไป ทำให้ความขลังของวัดลดน้อยลง ในวัดนี้มีพระพันองค์ประดับล้อมรอบ




เปรียบเสมือนวันมาฆะบูชา ที่มีพระสงฆ์ 1250 รูป มาประชุมกันในวันนี้ เป็นการสื่อด้วยดีไซน์อีกแบบ ที่น่าสนใจมาก




จากนั้นก็ได้เดินทางต่อและแวะพักรับประทานอาหารกลางวันที่วัด ศรีรองเมืองหรือวัดท่าคราวน้อยพม่า






ถูกสร้างโดยชาวพม่า มีอายุราวๆ 100 ปี โดยจุดเด่นของวัดนี้ คือ การประดับ เสา และ ฝ้าเพดานด้วยลวดลายที่วิจิตรงดงามเป็นอย่างมาก





หลังคามีการซ้อนชั้นตามศิลปแบบพม่า ประการฉลุลวดลายประดับในส่วนของเชิงชายและหน้าจั่ว เนื่องจากวัดแห่งนี้ถูกสร้างมานาน จึงทำให้มีการทรุดโทรมตามอายุขัย และจะถูกบูรณะในเร็วๆนี้ และได้ถูกบันทึกเป็น โบราณสถานสำคัญแห่งชาติ จากนั้นก็ได้เดินทางต่อไปยัง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างทางผ่านจังหวัดลำพูนและได้แวะพักชมบ้านโบราณ




ในหมู่บ้านมีบ้านยองโบราณที่ได้รับรางวัลมากมาย โดยเจ้าของคือคุณยายคนหนึ่งชื่อ




แม่บัวลา ที่มีอัธยาศัยดี ต้อนรับนักศึกษาอย่างเป็นกันเอง คุณยายอาศัยอยู่เพียงลำพัง แต่ได้มีการดูแลรักษาอย่างดี จากนั้นได้เดินทางต่อไปยังจังหวัดเชียงใหม่และถึงที่พัก ที่สนามกีฬา 700 ปีอย่าง เรียบร้อย ปลอดภัย...............จบการบันทึกในวันที่ 4......


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น