วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Field Trip วันสุดท้าย

วันสุดท้าย ของการเดินทาง (วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม)
วันสุดท้ายแล้ว รู้สึกว่า ทำไมมันผ่านไปเร็วจัง เหมือนกับยังไม่อยากลับ น่าจะมีต่ออีกซัก 2-3 วัน แต่ในเมื่อแผนการออกทริปมีเพียงเท่านี้ ก็ต้องยอมรับ และทำใจ อีกอย่าง ยิ่งอยู่ยิ่งเปลืองเพราะอาหารการกินถูกมาก เลยทำให้ใช้เงินไปอย่างไม่ยั้งคิด ก็ถือว่าเป็นการดีแล้ว ที่จะเดินทางกลับวันนี้ ระหว่างการเดินทางมี จะต้องแวะอยู่ประมาณ 2-3 ที่ ที่แรกที่จะไปก็คือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ วัดมหาธาตุ

ซึ่งเป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชที่มีความงดงามมาก



พระพุทธชินราช




เมื่อไปถึงจะเห็นผู้คนเยอะมากๆ รู้สึกวุ่นวายและเสียงดังหนวกหู จากเครื่องขยายเสียงเชิญชวนให้ทำบุญ ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ค่อยประทับใจกับนี้สักเท่าไหร่ และคิดว่า วัดที่เจริญแล้ว ถ้าทำให้ขาดความสงบแบบนี้ สู้อยู่วัดที่ไม่ค่อยเจริญแต่มีความสงบยังจะดีซะกว่า เนื่องจากเสียงจากเครื่องขยายเสียงที่ดังมากๆ ทำให้ไม่ค่อยได้ยินการฟังการบรรยายจากอาจารย์จิ๋ว จึงต้องหลบไปด้านหลังกำแพงของวิหารวัด เหมือนอยู่อีกคนละโลกเลย เพียงแค่เดินผ่านกำแพงนั้นมาก็จะไม่ได้ยินเสียงที่หนวกหูจากด้านนอกนั้นเลย เนื่องจากอากาศที่ร้อนมากๆ เหล่าบรรดานักศึกษาและคณาจารย์ต่างเหนื่อยเพลียกัน ทุกคนนั่งพัก และนั่งพัดกัน สักพักอาจารย์จิ๋วก็เริ่มการบรรยาย จากนั้นก็ได้แวะเข้าไปกราบพระพุทธชินราชและได้พลัดหลงกับอาจารย์จิ๋ว ก็เลยเดินออกไปด้านนอกวัด และได้ให้อาหารนก และได้ปล่อยปลา และนั่งพัก จากนั้นก็ได้เดินกลับเข้าไปยังในวัดอีกครั้ง แล้วก็เดินตามหาอาจารย์จิ๋วอีกครั้ง ก็เลยเดินตามอาจารย์ แล้วจากนั้นก็ได้ข้ามสะพานลอยไปยังวัดราชบูรณะ ที่มีโบสถ์ที่เก่ามาก





แต่ยังคงเหลือลวดลายที่ตกแต่งตามส่วนต่างๆของโบสถ์ไว้อยู่ ความรู้สึกในตอนนั้นรู้สึกว่า ชักเริ่มเหนื่อยและร้อนมากแล้ว และหิวด้วย จึงทำให้ความสนใจที่จะศึกษาวัด แห่งนี้มีน้อยลง ก็เลยได้ออกไปหาข้าวทาน และได้เดินดูของฝากไปฝากญาติผู้ใหญ่และน้องรหัส และได้เดินทางกลับด้วยความสนุกสนานเฮฮาตลอดทาง

Field Trip วันที่ 7

วันที่ 7 ของการเดินทาง (วันศุกร์ ที่ 10 กรกฎาคม)
ที่แรกของการเยือนสุโขทัยคือ



สนามบินสุโขทัย ขณะที่เดินทางไปถึง ตอนแรกยังไม่เชื่อว่านี่หรือคือสนามบิน ทำไม มันถึงได้ดูแปลก กว่า สนามบินอื่นๆ ที่เคยพบเห็นมา เป็นสนามบินที่มีศิลปะคล้ายกับศิลปะล้านนา โดยมีอาคารผู้โดยสารเป็นหัวใจหลัก มีเครื่อง X-ray ตัวเดียว มีรันเวย์ยาว 2100 ม. สามารถรองรับเครื่องบินโบว์อิ้งได้ แต่จะเปิดใช้ก็ต่อเมื่อเป็นเที่ยวบินพิเศษเช่น เที่ยวบินของราชวงศ์ มีบ่อบัวรอบอาคารผู้พักโดยสารเพื่อ security อาคารผู้โดยสารขาเข้าเลียนแบบศาลาท่าน้ำ มีภูเขาที่เป็นรูปผู้หญิงนอนสยายผมเป็นแลนด์มาร์ค




ลวดลายของการจัดLandscape เป็นลายผ้าทอพื้นบ้าน

มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัยอยู่ด้านหน้าอาคารพักผู้โดยสารขาออก จากนั้นก็ได้เดินทางต่อไปยัง โรงแรมสนามบินสุโขทัย



เป็นโรงแรมที่มีการนำเอาศิลปสุโขทัยมาออกแบบให้เข้ากับความเป็นสากล โดยส่วนของระเบียงก่อด้วยอิฐแล้วละไว้ให้ดูเหมือนเป็นซากปรักหักพังของ



โบราณสถานในสุโขทัย ส่วนใหญ่จะก่อด้วยอิฐแดง ที่เป็นเอกลักษณ์ มีสระบัวขนาดใหญ่ อยู่ด้านในโครงการ มีทรรศนียภาพของสนามบิน เป็นฉากกั้น พร้อมกับทิวทัศน์ของภูเขาและทุ่งหญ้ากว้าง ไกลสุดลูกหูลูกตา ส่วนพักคอย ออกแบบคล้ายกับศาลาดูโปร่ง ลมโกรกเย็นสบาย




เหมาะที่จะนั่งเอนหลังพักผ่อนเป็นที่สุด จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังร้านก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย ซึ่งอร่อยมากๆ แต่ที่น่าสงสารก็คือแม่ค้ามีอยู่ 2-3 คน ซึ่งในวันนั้นขบวนนักศึกษาแห่กันไปโดยที่ป้าเค้าไม่ได้ตั้งใจ และทำให้ทำก๋วยเตี๋ยวล่าช้า แต่อาหารที่ได้ก็ยังอร่อยอยู่เหมือนเดิม จากนั้นก็ไปขึ้นรถคณะและเดินทางต่อไปยัง ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์ตาสังคโลก สุโขทัย เนื่องจากผู้ออกแบบเป็น ภูมิสถาปนิก จึงได้คำนึงเรื่อง ทางเข้าออก สลับไปมา




การจัดวางที่ทำให้มีมุมในการมองเห็น และมีการเปิดช่องว่างทางด้านหลังให้สามารถมองบ้านพื้นถิ่น ถือเป็นการออกแบบที่คำถึงผู้ใช้งาน และความเป็นท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี





จากนั้นได้เดินทางต่อไปยังโบราณสถาน วัดเจดีย์เก้ายอด ต่อด้วยวัดเจดีย์เอน มีเจดีย์ทรงระฆังเป็นประธาน วิหารสร้างจากศิลาแลง หลงเหลือไว้เพียงเสา ที่สันนิษฐานว่า หลังคา น่าจะเป็นทรงจั่วคลุมตัววิหารไว้ จากนั้นเดินทางต่อไปยัง มรดกโลก อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร ซึ่งประกอบด้วย

วัดทุ่งศรี

วัดนางพญา

วัดเจดีย์เจ็ดแถว

วัดช้างล้อม
กว่าจะเดินสำรวจครบก็ทำเอาแสงอาทิตย์ใกล้จะลับของฟ้า ทำให้ยากลำบากต่อการถ่ายภาพ จากนั้นจึงเดินทางต่อไปยังวัดมหาธาตุ(พระธาตุเชลียง) แต่เมื่อไปถึง พระอาทิตย์ก็ลบขอบฟ้า จึงไม่สามารถที่จะเก็บภาพที่นี่ได้ อาจารย์จึงบอกว่า แล้วค่อยมาใหม่พรุ่งนี้เช้า ตอนประมาณตี 5 ซึ่งก็ทำให้ลำบากใจมาก จากนั้นก็เดินทางกลับไปที่พักดังเดิม

Field Trip วันที่ 6

วันที่ 6 ของการเดินทาง (วันพฤหัสบดี ที่ 9 กรกฎาคม)
เช้าวันนี้ยังอยู่ที่เชียงใหม่กันอยู่ เริ่มจากการไปกินข้าวที่ ม.ช ถือเป็นเริ่มต้นของวันที่สดใส และสดชื่นมากๆ เพื่อนทั้งหนุ่มและสาวต่างลุกลี้ลุกลน ที่ได้มากินเข้าที่นี่ ความสุขมักจะผ่านไปเร็วเสมอ โดย ไม่ทันไร ก็ถูกเกณฑ์ทับขึ้นรถและเดินทางไปศึกษาเรียนรู้ต่อ ที่แรกของวันก็คือ










วัดพันเต้า เป็นวัดที่มีการใช้ใบตองตึงมาทำหลังคาในส่วนของศาลา


ตัววิหารทำจากไม้ที่ถือเป็นวิหารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ดูแล้วอลังการกับภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนที่สามารถสร้างสิ่งที่มหัศจรรย์ได้ขนาดนี้ เชื่อว่ามาจากแรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา และ ภูมิปัญญาของช่างสมัยนั้น










ด้านข้างวิหารมีการปักธงที่เจดีย์ เดาว่า น่าจะมาจากตอนวันสงกรานต์ที่มีการขนทรายเข้าวัดและได้ก่อเจดีย์ทราย และได้มีการประดับธงตามความเชื่อ











ทำให้วัดดูสะดุดตา ด้วยสีของธง และ บ่งบอกถึงความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวเชียงใหม่ที่ไม่เคยจะห่างหายไปไม่ว่าเวลาจาผ่านไปนานเท่าได
จากนั้นก็เดินทางด้วยเท้าไปยัง โรงแรม ยู เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับวัดพันเต้า ซึ่งเป็นการผสมผสานความเป็นล้านนา กับความเป็นโมเดิล



ของตะวันตกได้อย่างลงตัว มีการนำเอาบ้านเดิมที่เป็นเรือนไม้ล้านนาที่ไม่ได้มีการดัดแปลงไดๆ มาปรับเป็นส่วนของ Office และด้านหน้าเป็นร้านอาหาร ที่ตกแต่งแบบโมเดิล


ส่วนทางเข้า Approach มีฉากกำแพงที่สัดส่วนไม่บดบังตัวบ้านโบราณแต่กลับ เว้น space ที่ทำให้บ้านโบราณดูเป็นพระเอกของโรงแรมแห่งนี้ ถือเป็นการออกแบบที่ คำนึง และให้ความเคารพกับของเดิมที่มีความสวยงาม และคงคุณค่า อย่างลงตัว จากนั้นก็เดินทางต่อไปยัง ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ ซึ่งเป็นที่ที่มีการยกเอาบ้านโบราณมาจัดแสดง



















ถือเป็นการอนุรักษ์ศิลปที่กำลังจะถูกกลืนกินด้วยวัฒนธรรมตะวันตก มาให้ลูกหลานได้ศึกษาได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น จากนั้นก็เดินทางเพื่อจะไปจังหวัดสุโขทัย แต่ระหว่างทางได้ผ่านจังหวัดแพร่










และได้แวะชมบ้านโบราณและได้ลงไปเก็บภาพและลงไปสัมผัสความเป็นท้องถิ่นของบ้านที่มีฝายกั้นน้ำอยู่ด้านหลังบ้าน










จากนั้นก็กลับขึ้นรถและเดินทางต่อไปยังจังหวัดสุโขทัยและ ถึงที่พักในที่สุด

Field Trip วันที่ 5

วันที่ 5 ของการเดินทาง (วันพุธที่ 8 กรกฎาคม)
เช้าของการตระเวนเชียงใหม่ แห่งแรกที่จะไปก็คือ วัดทุ่งอ้อ อ.สันกำแพง





วัดนี้ มีลวดลายไม่มาย รวงผึ้งมีการปั้นปูน ปั้นลมปิดและมีการขมวดปิดแป เป็นศิลปล้านนาแท้ๆ ดีไซน์เน้นทางสูงดูแล้วมีพลัง เจดีย์ไม่ได้หลังวัด แต่จะอยู่เยื้องไปทางด้านข้างของวิหารเดาว่า สร้างทีหลัง แล้วสร้างเบี่ยงแล้วเว้น space ลานทรายสัมพันธ์กับวิหาร ตัวเจดีย์เป็นสีขาว




ตัดกับไม้ของวิหาร ทำให้ตัววิหารดูเด่น ปั้นลมกับ บันได้มีขนาดใหญ่ ดู over scale เป็นการออกแบบแบบพิเศษ ระเบียงมุกเน้นลวดลายมีลูกเล่นพิเศษพิศดาร



ไม่มีประตู ไม่มีวงกบ บรรยากาศเหมือนศาลา ต่อจากวัดทุ่งอ้อก็ไปกินข้าวกันที่ ตลาดหางดง จากนั้นก็เดินทางต่อไปยังวัด ต้นเกว๋น




เป็นชื่อต้นไม้พื้นเมืองทางภาคเหนือชนิดหนึ่ง




ซึ่งเป็นวัดที่มีมณฑป แห่งเดียวในภาคเหนือ ภายในวัดมี ลานทรายกว้าง ตัดกับขอบหญ้าได้เนียนมากๆ ทำให้ดูตัดกันอย่างชัดเจน






เป็นวัดที่มีสัดส่วน สวยงามและเป็นเอกลักษณ์แห่งหนึ่งของภาคเหนือ




ที่ถ้าใครที่อยากจะศึกษาต้องมาที่วัดนี้ มีหน้าจั่ว ที่มีลวดลายงดงาม เป็นวัดที่ได้รับการบูรณะแล้ว 6 ครั้ง จุดเด่นของวัดนี้คือ การเล่น space ที่ให้ความรู้สึกแตกต่างจากวัดลำปางหลวง โดย วัดต้นเกว๋นจะเล่น space ในส่วนของวิหารมากกว่า โดยให้ความรู้สึก ขณะเข้ามาในวิหาร กับ ออกวิหารที่แตกต่างกัน โดยใช้การลดหลั่นของหลังคา และ ช่องจั่ว ที่กั้น space ตามช่องเสา ที่ดูเหมือนจะเป็นการกั้น







แต่ก็ยังมีการเชื่อมด้วยการเจาะช่องเล็กๆ ตรงจั่ว ทำให้ ดูต่อเนื่อง เป็นการเล่นแสงที่ให้ความรู้สึกที่ยากจะอธิบาย




ลวดลายช่องแสงของวัดต้นเกว๋น




จากนั้นก็เดินทางต่อไปยังโรงแรม ราชมังคลา

เป็นโรงแรมที่ สร้างโดยผสมผสานความเป็นล้านนากับทางตะวันตกได้เป็นอย่างดี โดยได้หยิบเอาเอกลักษณ์ของศาสนสถานของแต่ละที่ทางภาคเหนือ เช่นวิหารคตของวัดลำปางหลวง

กับช่องหน้าต่างของวัดพระแก้วดอนเต้า เข้ามาใช้ในโรงแรมซึ่งดูแล้ว ไปด้วยได้ได้อย่างน่าสนใจ ถือเป็นการเผยแพร่ และ โฆษณาความเป็นล้านนาอีกทางหนึ่งด้วย

จากนั้นก็ได้พักรับประทานอาหารที่แถวๆ ไนท์บาร์ซ่า และได้ซื้อของฝากติดไม้ติดมือกันคนละไม่น้อยกันเลยทีเดียว จากนั้นก็กลับไปยังที่พักและเตรียมเก็บของเพื่อที่จะได้ย้ายจังหวัดไปจังหวัดสุโขทัยต่อไป

Field Trip วันที่ 4

วันที่ 4 ของการเดินทาง (วันอังคารที่ 7 กรกฏาคม)
และก็เป็นอีกวันที่ต้องตื่นแต่เช้า และเป็นวันสุดท้ายที่จะอยู่ในจังหวัดลำปาง จึงต้องเก็บข้าวของและหอบกระเป๋าขึ้นรถเพื่อย้ายจังหวัด แต่ในช่วงเช้ายังต้องตระเวนศึกษาวัดต่างๆในตัวเมืองลำปาง เริ่มจากวัดแห่งแรก คือวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม เป็นวัดที่ มีวัด 2 วัดอยู่ในวัดเดียวกัน จึงได้มีการตั้งชื่อโดยเอาชื่อของ วัดพระแก้วดอนเต้า กับ วันสุชาดาราม รวมกัน เป็น วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม







โดยวัดแรกคือวัดพระแก้วดอนเต้า เป็นศิลปเชียงใหม่ ซึ่งวิหารเป็นศิลปล้านนาอีกแบบหนึ่ง โดยช่องหน้าต่างใช้ลูกกรง







ช่อฟ้าไม่เหมือนใครโดยจะขึ้นตรงและเป็นช่องโปร่ง สัดส่วนสวยงามได้จังหวะ ประตูกลางยกกำแพง การลดชั้นหลังคาเชื่อว่า ฐานะหนึ่งของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ใช่คน




อุโบสถที่บูรณะใหม่




ศาลาวัดสุชาดาราม

วิหารทางเหนือ จะไม่มีศาลาการเปรียญ โบสถ์มีขนาดเล็กเพราะมีพระน้อย จากนั้นก็เดินไปยังวัด สุชาดาราม






เป็นวัดที่ศาลาที่มีศิลปของพม่าที่มีการผสมผสานศิลปแบบตะวันตกเข้าไปใช้ในการประดับตกแต่ง






ในส่วนต่างๆของศาลา จากการสอบถามคุณลุงท่านหนึ่ง ซึ่งเคยบวชอยู่ที่วัดแห่งนี้ได้เล่าว่า ศาลานี้ได้สร้างเพื่อถวายแก่เจ้าพ่อบุญวาทย์วงค์มานิตย์ ผู้ครองเมืองเขลางค์นคร ในสมัยอดีต ตัววิหารวัดสร้างโดยครูบาศรีวิชัย เกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคเหนือ เป็นการสร้างที่มีการคำนึงศิลปล้านนาได้เป็นอย่างดี ภายหลังได้มีการบูรณะด้วยการทาสีใหม่ทำให้ความขลังของวิหาร ดูเปลี่ยนไป จากนั้นก็เดินทางกลับไปยังรถเพื่อไปยังวัดปงสนุก(ใต้)



ซึ่งอยู่ในตัวเมืองและไม่ไกลจากวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดารามมากนัก โดยวัดปงสนุกนี้ เป็นวัดที่ มีการสร้างที่ไม่เน้นความประณีต วิจิตร มากเท่าไหร่ ภายหลังได้มีการบูรณะ

โดยคงเหลือของเก่าไว้เปรียบเทียบ แต่ดูแล้ว



กลับทำให้ความรู้สึกที่แปลกๆ กับการบูรณะของวัดนี้ เนื่องจากมีสีสันที่สดใส ฉูดฉาดมากเกินไป ทำให้ความขลังของวัดลดน้อยลง ในวัดนี้มีพระพันองค์ประดับล้อมรอบ




เปรียบเสมือนวันมาฆะบูชา ที่มีพระสงฆ์ 1250 รูป มาประชุมกันในวันนี้ เป็นการสื่อด้วยดีไซน์อีกแบบ ที่น่าสนใจมาก




จากนั้นก็ได้เดินทางต่อและแวะพักรับประทานอาหารกลางวันที่วัด ศรีรองเมืองหรือวัดท่าคราวน้อยพม่า






ถูกสร้างโดยชาวพม่า มีอายุราวๆ 100 ปี โดยจุดเด่นของวัดนี้ คือ การประดับ เสา และ ฝ้าเพดานด้วยลวดลายที่วิจิตรงดงามเป็นอย่างมาก





หลังคามีการซ้อนชั้นตามศิลปแบบพม่า ประการฉลุลวดลายประดับในส่วนของเชิงชายและหน้าจั่ว เนื่องจากวัดแห่งนี้ถูกสร้างมานาน จึงทำให้มีการทรุดโทรมตามอายุขัย และจะถูกบูรณะในเร็วๆนี้ และได้ถูกบันทึกเป็น โบราณสถานสำคัญแห่งชาติ จากนั้นก็ได้เดินทางต่อไปยัง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างทางผ่านจังหวัดลำพูนและได้แวะพักชมบ้านโบราณ




ในหมู่บ้านมีบ้านยองโบราณที่ได้รับรางวัลมากมาย โดยเจ้าของคือคุณยายคนหนึ่งชื่อ




แม่บัวลา ที่มีอัธยาศัยดี ต้อนรับนักศึกษาอย่างเป็นกันเอง คุณยายอาศัยอยู่เพียงลำพัง แต่ได้มีการดูแลรักษาอย่างดี จากนั้นได้เดินทางต่อไปยังจังหวัดเชียงใหม่และถึงที่พัก ที่สนามกีฬา 700 ปีอย่าง เรียบร้อย ปลอดภัย...............จบการบันทึกในวันที่ 4......