วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Field Trip วันที่ 2

วันที่ 2 ของการเดินทาง (วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฏาคม)
เป็นอีกวันที่ต้องตื่นแต่เช้าซึ่งเป็นเช้าที่มีฝนโปรยปรายลงมาเรื่อยๆ และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาหาอาหารเช้าทาน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะไปกินข้าวซอยโอมาสาขา 3 ซึ่งหลายคนก็บอกว่าอร่อย บางคนก็บอกว่าลูกเจ้าของน่ารัก บางคนก็บอกไม่ค่อยชอบ เมื่อทุกคนทานข้าวเสร็จก็ได้ขึ้นรถเพื่อจะออกเดินทางไปยังจุดหมายแรก นักศึกษาเมื่อขึ้นบนรถก็หลับตามเคย จากนั้นก็ถึงจุดหมายแห่งแรก นั่นก็คือ






วัดไหล่หิน


ซึ่งทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สวยจังเลยแล้วทุกคนก็อึ้งกันซักพักแล้วอาจารย์ก็เรียกเข้าไปหลบฝนที่ศาลาการเปรียญ แล้วอาจารย์จิ๋วก็ได้อธิบายเกี่ยวกับวัดไหล่หิน ว่า วัดไหล่หิน ประกอบด้วย เจดีย์ วิหาร(คต) ลานหน้าวัด(ลานทราย) มาจากการขนทรายเข้าวัดในช่วงวันสงกรานต์โดยเชื่อว่า การนำของออกจากวัดถือเป็นบาป แม้กระทั่ง ทรายที่ติดไปกับรองเท้า จึงได้มีประเพณีขนทรายเข้าวัดเพื่อเปรียบเสมือนการนำเอาทรายที่ติดตัวออกจากวัด นำกลับมาคืนยังวัดดังเดิม วิหาร เป็นวิหารแบบโบราณ ขนาด กว้าง 5 ม. ยาว 9 ม.





พระวิหารเก่าแก่ฝืมือช่างเชียงตุงศิลปแบบล้านนาไทย ลวดลายแพรวพราว โดยเฉพาะหน้าบัน ปัจจุบันยังคงลวดลายอยู่อย่างสวยงาม






หน้าบัน

ภายในวิหารมีพระประธานที่สวยงามตามแบบสมัยโบราณนอกจากนั้นยังมีรูปปั้นพระมหาป่าเกสระปัญโญ



ซึ่งท่านปั้นด้วยฝีมือของท่านเองโดยมีขนาดเท่าตัวจริง หน้าต่างใช้วิหคตรึง หลังคาไม่มีจันทัน ซุ้มประตูโขง ก่อด้วยอิฐถือปูน ลวดลายส่วนมากจะเป็นรูปสัตว์ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง



ลวดลายส่วนซุ้มประตูดโขง

ซึ่งปัจจุบันรูปสัตว์ต่างๆ ได้หักลงมาตามอายุของวัตถุ และได้ถูกนำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ของวัด ลักษณะเด่นของวัดไหล่หินเป็นวัดที่มีความครบถ้วน ตามองค์ประกอบของพุทธสถานล้านนา ประกอบด้วย ลานหน้าวัดที่เรียกว่า “ข่วง” มีวิหารโถง


ศาลาบาตรและลานทราย มีเจดีย์ท้ายวิหารแบบล้านนาที่บรรจุพระบรมธาตุซึ่งองค์ประกอบดังกล่าว เป็นแบบจำลองภูมิภาคจักรวาล คือ วิหารเปรียบเสมือน ชมพูทวีป เจดีย์เปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ และลานทรายเปรียบเสมือนมหานทีสีทันดร จากนั้นก็ได้ให้นักศึกษาแยกย้ายกันไปเก็บภาพต่างๆ ภายในวัด จากนั้นเมื่อถ่ายรูปเสร็จก็ได้นั่งคุยกับคุณลุงคนหนึ่ง ซึ่งคุณลุงท่านนี้มีอัธยาศัยที่ดีมากๆ ถามอะไรก็ตอบหมดทุกอย่างพร้อมกับสีหน้าที่ยิ้มแย้มตลอดเวลา คุณลุงเล่าว่า วัดไหล่หินหลวง มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า วัดเสลารัตนปัพพะตาราม หรือ ไหล่หินแก้วช้างยืน เป็นวัดแห่งแรกๆของจังหวัด สร้างใน ปี จ.ศ. 1045 (พ.ศ. 2226) เป็นวัดพี่วัดน้องกับวัดพระธาตุลำปางหลวง โดยจะสังเกตเห็นว่า วัดไหล่หินจะมีช้างยืนอยู่ด้านหน้าของวัด



ซึ่ง ลุงบอกว่า ได้สร้างใหม่ขยายมาจากศาลเล็กๆที่อยู่ในตัววัด


ศาลช้างยืน

ใกล้ๆกำแพงวิหารคต ลุงก็บอกอีกว่า ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงก็มีนะ แต่เป็นช้างหมอบ และสังเกตว่าวัดนี้มีขนาดเล็ก มีพื้นที่ที่ๆเป็นลาน ไม่ใหญ่มาก เวลาทำกิจกรรมต่างจะเพียงพอรึเปล่า และไม่มีหลังคาปิดแบบนี้ จะมีปัญหาอะไรรึเปล่าตอนวันที่ต้องจัดงานประเพณีต่างๆในวัด คุณลุงก็บอกว่า ด้านข้างของวัดที่เห็นเป็นดงหญารกๆ เมื่อใกล้วันงานประเพณี จะมีชาวบ้านเกณฑ์กันมาช่วยกันถางหญ้า ทำความสะอาดให้ดูโล่ง และใช้ทำเป็นที่ขายของของพ่อค้าแม่ค้า แล้วก็ที่พักนั่งคอย ส่วนลานวัดที่เป็นทายโล่งๆ ก็จะมีการยกแค่โต๊ะไว้วางสิ่งของสัมพาระของชาวบ้าน อย่างเช่นงาน สลากพัตร์ ก็จะมีชาวบ้านนำเอาก๋วยสลากมาวางบนโต๊ะที่ลานทรายที่เตรียมไว้ แล้วถ้าฝนตกชาวบ้านก็ยอมเปียกฝน คุณลุงบอกว่า ชาวบ้านยินดีที่จะเปียกฝนเพราะรู้สึกว่ามีความชุ่มเย็นดี ทำให้รู้สึกว่า ชาวบ้านที่นี่ มีความคิดที่ติดดิน อยู่ง่าย และไม่เรื่องมาก และมีความสามัคคี พร้อมใจกันที่จะ ทำนุ บำรุงรักษาศาสนสถานคู่บ้านคู่เมืองของตนไว้อย่างดี พอคุยกับคุณลุงเสร็จก็เหลือไปเห็นเทียนกองๆกันอยู่ก็เลยถามลุงว่า นี่เป็นเทียนบูชารึเปล่า ลุงก็ตอบว่า ใช่ แล้วปีนี้ได้บูชาเทียนรึยัง ผมก็ตอบไปว่า เรียบร้อยแล้ว แล้วก็บอกว่า บูชาอีกก็ได้แล้วได้ชักชวนเพื่อนๆ ไปบูชาเทียน เพื่อนๆก็ให้ความร่วมมือกันอย่างดี ทั้งๆที่ยังงงกันอยู่ว่าบูชาเทียนทำไม น่ารักกันมากๆ ผมก็บอกภายหลังว่าเหมือนเป็นการสะเดาะเคราะห์ อะไรประมาณนี้ จากนั้นก็หมดเวลาและก็ได้แยกย้ายกันขึ้นรถ เพื่อที่จะไปยังจุดหมายต่อไป นั่นก็คือ วัดพระธาตุลำปางหลวงที่ได้กล่าวไปเมื่อครู่ว่าเป็นวัดพี่วัดน้องของกับวัดไหล่หิน โดยวัดพระธาตุลำปางหลวงสร้างหลังวัดไหล่หินประมาณ 14 ปี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดไหล่หินมากนัก และมีการวางแปลนที่เหมือนกันกับวัดไหล่หิน แต่จะขยายสัดส่วนให้ใหญ่กว่าวัดไหล่หินโดยจะสร้างบนเนิน และมี บันไดวัดที่มีพญานาค ทอดยาวลงมา นำสายตาไปสู่ตัวซุ้มประตู ซึ่งเรียกว่า



ซุ้มประตูโขง และที่ช่องของซุ้มประตูก็จะเห็นวิหารวัด มาเป็นฉากกั้น ซึ่งขณะที่ไปนั้นได้มีการบูรณะองค์พระเจดีย์อยู่ จึงทำให้รู้สึกขัดหูขัดตา และได้มีการก่อสร้างอาคารใหม่ขึ้นมาบดบัง space เดิมๆ ของวัด ซึ่งข้อแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ของวัดพระธาตุลำปางหลวงกับวัดไหล่หินก็คือ การเล่น space ของวัดพระธาตุลำปางหลวง โดยวิหารจะไม่มีผนัง จะมีการเล่น space ที่น่าสนใจ ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันเมื่อหันมองแต่ละด้านของวิหาร และมีการเล่นลวดลายอันวิจิตรในส่วนของซุ้มประตูและ



หน้าบัน รวงผึ้ง จากนั้นก็ให้นักศึกษาแยกย้ายไปถ่ายภาพต่างจุดต่างๆของวัด


แล้วก็ให้พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัยจากนั้นก็ได้เดินทางต่อไปยังวัดปงยางคก สิ่งแรกที่เห็นคือ การสร้างวิหารใหม่ เคียงคู่กับ วิหารอันเดิม ซึ่งดูแล้วขัดหูขัดตา


จากนั้นอาจารย์จิ๋วก็เริ่มการบรรยามวัดแห่งนี้ โดยอาจารย์เล่าว่า วัดนี้ไม่มีผนังวิหารเหมือนกับวัดพระธาตุลำปางหลวง



เสาที่มีการบูรณะใหม่ได้หลุดร่อนทำให้เห็นลวดลายเดิม

และมีสัดส่วนที่มีพอดี เมื่อเข้าไปอยู่ด้านในของวิหารแล้ว ไม่รู้สึกแออัดเหมือน ตอนที่ดูอยู่ด้านนอก ตัวลาน มีการนำเอาหินมาโรย แทนทราย โดยกรมศิลป์ฯ มาปรับปรุงโดยเชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาจากญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อใช้งานจริงแล้ว ลานหินจะทำให้เดินลำบาก เนื่องจากชาวบ้านเมื่อประกอบพิธีทางศาสนามักจะถอดรองเท้า ทำให้เจ็บที่ฝ่าเท้า และไม่สะดวกในการประกอบพิธีกรรม วัดแห่งนี้ ยังมี กู่จ้างนบ ซึ่งเป็นภาษาเหนือ แปลว่า ที่เก็บสถูปของช้างที่ทำท่านบน้อม หรือ คุกเข่า



ซึ่งจากการสอบถามอาจารย์พี่ใหญ่ ได้เล่าให้ฟังว่า เชื่อว่า ช้างนี้ เป็นช้างคู่บารมีของพระนางจามเทวี ซึ่งเคยเสด็จมายังวัดแห่งนี้ และได้ทำท่านบพระนางจามเทวีแล้วได้ล้มไป จึงได้สร้าง กู่ หรือ สถูปนี้ไว้ให้จากนั้น ก็ได้ยืนสนทนาและยืนอ่านป้ายภาษาล้านนา ที่อยู่ด้านข้างกู่จ้างนบ ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่า อ่านว่าอะไร จากนั้นก็ได้ยินเสียงเรียกจากเพื่อน ให้ไปขึ้นรถได้แล้ว จึงได้ทะยอยกันไปขึ้นรถเพื่อเดินทางกลับ ระหว่างทางได้เห็นบ้านทรงโบราณ และได้จอดลงไปถ่ายรูปกัน โดยบ้านหลังนี้

มีการผสมผสานศิลปตะวันตกกับศิลปพื้นเมืองของไทยได้อย่างลงตัว โดยมีการเล่นspace ในส่วนของบันได และ หลังคา ที่เห็นแล้ว

ดึงดูดให้กลุ่มนักศึกษาแห่กันลงไปถ่ายรูปกันอย่างมาก ทำให้ชาวบ้านแถวนั้น พร้อมกับเจ้าของบ้าน ประหลาดใจ และภายหลังได้เปิดหน้าต่างให้ดูในส่วนของ ด้านในของตัวบ้าน และได้เดินตระเวนถ่ายรูปบ้านโบราณแถวๆนั้น

จากนั้นไม่นานก็ได้แยกย้ายขึ้นรถ เพื่อเดินทางกลับ แต่รถก็ต้องหยุดจอดอีกครั้ง เมื่อเห็นบ้านหลังหนึ่ง ที่มีความเก่าแก่ไม่ต่างจากบ้านหลังแรก และก็ได้เดินตระเวนถ่ายรูปไปเรื่อยๆ จนได้เห็นบ้านอีกหลังหนึ่งที่มีการจัดสวนที่น่ารัก และน่าสนใจ อย่างมาก แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจของต้นไม้ที่นำมาปลูก และรู้ถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นอย่างดี ด้านหลังบ้านหลังนี้ เป็นบ้านของตายาย คู่หนึ่ง ที่อยู่กับลูกหลานซึ่งประกอบด้วย เพิง 2 หลัง ซึ่งเพิงหลังแรก ใช้ทำประโยขน์ได้เอนกประสงค์ ทั้งรับแขก และนั่งคุย กับเพื่อนบ้าน ส่วนเพิงหลังที่ 2 เป็นห้องครัวและห้องน้ำ


ซึ่งด้านหน้าบ้านเป็นสวนครัวเล็ก ที่ดูแล้วมีความเป็นท้องถิ่น และ เข้าใจถึงการใช้งานได้เป็นอย่างดี จากนั้นเมื่อถ่ายรูปเสร็จก็ได้เดินทางกลับไปยังที่พัก และ แยกย้ายกันไปพักผ่อน อาบน้ำ ทานข้าวกันตามอัธยาศัย ซึ่งทำให้หลายๆคน อ่อนเพลียกันไปในทริปนี้พอสมควร .....จบทริปวันที่ 2.......

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น