วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

บทสัมภาษณ์รุ่นพี่ลาดกระบังที่เป็น idol


บทสัมภาษณ์คุณเยี่ยมหญิง ฉัตรแก้ว

ประวัติส่วนตัว?
-ชื่อ น.ส.เยี่ยมหญิง ฉัตรแก้ว ชื่อเล่น ดุ๊ก อายุ 30 ปี ชื่อคณะ ลูกอ่าห์

เรียนจบปีไหน ต่อโทที่ไหน ทำงานที่ไหน?
-จบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปี 39 ต่อโทร คณะ MBA ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำงานอยู่ บ.สถานี้ 1.618 จำกัด

พี่มีมุมมองอย่างไรก่อนเข้าเรียนในวิชาชีพนี้?
-เนื่องจากเพื่อนบ้านที่เป็นรุ่นพี่ที่เรียนคณะสถาปัตยกรรม แล้วพี่ดุ๊ก ก็ได้มีโอกาสที่ได้ไปช่วยงานเพื่อนบ้านของพี่คนนี้ แล้วรู้สึกชอบ และได้ยินจากที่เพื่อนบ้านบอกว่า ไม่ต้องมีสอบ ไม่ต้องอ่านหนังสือหนัก เรียนแต่วาดรูป เขียนแบบ ซะส่วนใหญ่ เลยทำให้พี่ดุ๊ก สนใจที่จะเรียนในสาขาวิชานี้

มุมมองขณะเรียนวิชาชีพนี้?
-เนื่องจากตอนนั้น พี่เค้ายังเด็ก พี่เค้าเลยเรียนๆ เล่นๆ ซะส่วนใหญ่และเนื่องจากรุ่นของพี่เค้ามีงานลาดกระบังนิทรรศ เลยทำให้มีอยู่ช่วงหนึ่งไม่ค่อยได้เรียน และได้มีโอกาสซ่อมอาคาร และวาดรูปติดผนังห้องเรียน เลยทำให้พี่รู้สึกสนุกกับการเรียนในตอนนั้น ที่ยังไม่ค่อยมีงานหนักอะไรมากมาย

แล้วมุมมองหลังศึกษาวิชาชีพนี้เป็นอย่างไร ?
-ตอนจบใหม่ๆด้วยความที่ไม่ได้คาดหวังอะไร ก็เป็นไปตามลำดับ ขณะเรียน ตั้งใจไว้หรือไม่ ที่จะประกอบวิชาชีพสถาปนิก? -เนื่องจากตอนเรียนแล้วทำผลงานออกมาได้ดี แล้วชอบ ก็ตั้งใจที่จะทำอาชีพนี้ ต่อมาได้มีโอกาสได้ทำงานที่บริษัท A49 คือทำงานเกี่ยวกับsupport มากกว่า พวกทำหนังสือบริษัท ทำมาตรฐานบริษัท ทำเวป จากนั้นเริ่มรู้สึกว่าไม่ชอบ และทางบ้านเริ่มอยากให้เรียนต่อ เลยตัดสินใจไปเรียน MBA แล้วก็คิดว่ายังรักในสาขาวิชาชีพนี้อยู่ก็เลยกลับมาทำ และได้มีโอกาสพบกับเพื่อนเก่า ก็คือพี่แนน หรือพี่ นานา และได้ทำงานรีสอร์ทชิ้นหนึ่งโดยที่ได้มาจากพี่ที่บริษัทแห่งหนึ่งอีกที

ลักษณะงานการปฏิบัติวิชาชีพ ทำอะไร?
-เนื่องจากพี่และเพื่อนร่วมงานมีความชอบเดียวกัน คือ อยากทำงานใหม่ๆเลย ทำงานออกแบบสถาปัตยกรรม และ ตกแต่งภายใน ทั่วไป แล้วภายหลังเริ่มมีงานรับเหมา เนื่องจากมีลูกค้ารายนึงที่อยากได้ทีมที่ทำทั้งรับเหมาและออกแบบ ก็เลยลองทำ และได้หาทีมในการรับเหมาในส่วนของออกแบบภายในด้วย ก็เป็นผลดีที่ตอนออกแบบครั้งต่อไปต้องคิดเผื่อไว้ก่อนเลย ไม่ต้องคอยมาแก้ในภายหลัง

อุดมคติในการทำงาน หรือ แนวคิดที่ดำรงวิชาชีพนี้?
- ทุกคนเมื่อทำงานมาได้ระดับนึงแล้วจะคิดว่า ทำไปเพื่อเงิน ถ้าทำแบบนี้แล้ว จะไม่มีความสุขกับการทำงาน พี่จะหาบางอย่างให้มีความสุขกับการทำงานไปด้วย แล้วก็มีความสุขกับงานจะทำให้ได้งานออกมาดี และทำงานให้ออกมาถูกใจกับงานทั้งผู้ออกแบบทั้งผู้จ้าง หรือแม้กระทั่งคนพบเห็น

ปัญหาในการทำงาน?
- ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาหน้างานมากกว่า อย่างเช่นตอนRenuvate บ้านและต้องทุบผนัง แล้วไปเจอท่อ ก็ต้องมาแก้แบบ แล้วต้องจำไว้ว่าต้องไม่ทุบผนังแนวนี้ ผนังนี้มีท่อนะ อะไรประมาณนี้ ตอนจบใหม่ๆ ไม่กล้าเรียกค่าบริการวิชาชีพแพง

อุปสรรคในการปฏิบัติวิชาชีพคืออะไร?
-ออกแบบงานไปแล้วประสบปัญหาต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ และ สึนามิ และทำให้ลูกค้าบางคนไม่เข้าใจว่า งานที่ไม่ได้สร้างต้องจ่ายเงินให้ด้วยเหรอ กับ ลูกค้าบางคนที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบงานแบบไหน ชอบตอบว่าไม่รู้ อยากได้แบบไหนก็ตอบว่าไม่รู้ ทำให้เวลาออกแบบไปแล้ว มีปัญหาแล้วต้องมาแก้ในภายหลัง และอีกปัญหาหนึ่งก็คือ ลูกค้าอยากได้งานที่สวย งานดี แต่ประหยัด ทำให้ ในบางครั้งก็จำกัดความคิดในการออกแบบของเรา หรือไม่ตอนออกแบบไปแล้วบอกว่าชอบ แต่พอสร้างจริงแล้ว งบไม่พอ ต้องมาแก้แบบใหม่ในภายหลัง

ขั้นตอนการเปิดบริษัท?
- เริ่มจากการเป็นสถาปนิกอิสระ และได้รับงานกับรุ่นพี่ที่อยู่บริษัท และภายหลังอยากเปิดบริษัทโดยทำแบบกึ่งสถาปนิกอิสระ และจ้างวิศวะ กับรับเหมาก่อสร้างอีกที แต่การเปิดบริษัทกับการเป็นสถาปนิกอิสระก็คล้ายๆ แต่การเปิดบริษัทต้องมีการบริหารจัดการ

เหตุผลที่เปิดบริษัท?
-เนื่องจากภายหลังเริ่มมีงานเข้ามาเรื่อยๆ และต้องการที่จะให้มีความน่าเชื่อถือ จึงได้คุยกับเพื่อนและตั้งบริษัทขึ้นมา

มีความคิดเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับบริษัทที่ใหญ่ๆ?
- เนื่องจากพี่เป็นคนที่ชอบอิสระ และมีความสุขกับงาน และยังมีอีกหลายอย่างที่ยังไม่ได้ทำ และเหมือนยังมีความคิดที่จะหาอาชีพเสริม อื่นๆลองทำ
อยากทำงานที่ต่างประเทศบ้างหรือไม่ ?
- ไม่ เนื่องจากพี่ชอบอยู่เมืองไทย บางทีเปิดหนังสือของต่างประเทศ ก็มีความรู้สึกว่าอยากทำแต่ไม่ได้มีความรู้สึกว่าอยากไปอยู่ต่างประเทศ แต่ถ้ามีโอกาสที่ชาวต่างชาติจ้างก็ทำ หรือ บางครั้งก็รอให้มีคนจ้าง เหมือนกับให้มีโอกาสหรือ พรหมลิขิตที่จะได้สร้างงานที่อยากทำ หรือไม่ก็เก็บเงินแล้วสร้างเองเลย
อยากมีเชื่อเสียงในวงการสถาปนิกหรือไม่?
- ไม่ต้องมีความคิดที่แบบว่าต้องดัง แต่คิดว่า ทำงานออกมาแล้วผู้พบเห็น ชอบหรือสนใจว่าใครออกแบบนะ แต่ถ้าได้มีโอกาสที่มีหนังสือหรือนิตยสารได้มาถ่ายรูปผลงานก็รู้สึกHappy และก็ภาคภูมิใจดี
มีการอัพเดทข่าวสาร กฎหมาย ความเคลื่อนไหวของวงการสถาปนิกอย่างไร ?
-จากหนังสือออกแบบ และหนังสือสถาปนิกทั่วไป และเพื่อนๆที่เป็นสถาปนิกที่เคยทำงานนั้นๆมาก่อน
สิ่งที่อยากฝากกับนักศึกษาที่กำลังจะจบออกมาเป็นสถาปนิก?
-สำหรับนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่มีโอกาสที่จะได้ลองผิดลองถูก มีโอกาสที่จะได้ล้มลุกคลุกคลานเองตั้งแต่เนิ่นๆ และเก็บไว้เป็นประสบการณ์ ดีกว่า มาล้มตอนแก่ จะรู้สึกเจ็บมากกว่า

มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการมีวิชาเรียนนี้ แล้วต้องมาสัมภาษณ์ครั้งนี้?
-คิดว่าช้าไปที่ให้มีเรียนวิชานี้ในปี 5 น่าจะมีให้เพื่อนักศึกษามีแรงกระตุ้นหรือสิ่งจูงใจที่จะทำให้ตั้งใจเรียนหรือจริงจังกับการเรียน เพราะมันเป็นเรียนในสายวิชาชีพ ควรที่จะทำให้เริ่มที่ทำให้เรียนรู้ว่า เรียนเพื่ออะไร เรียนแล้วต้องนำไปใช้ ไม่ใช่ว่า เรียนแล้วทิ้ง เรียนแล้วลืม

The Illuminating Engineering Society of North America ( IESNA )


คำย่อ : IESNA


ชื่อเต็ม : Illuminating Engineering Society of North America


Country : The United States



ความเป็นมา
วิศวกรรมการส่องสว่าง เป็นศาสตร์ที่ได้รับการ ยอมรับว่ามีความสำคัญมากมาเป็นเวลานานแล้ว โดย เฉพาะในปัจจุบัน ได้มีการตระหนักและให้ความสำคัญกับ แขนงวิชาทางด้านนี้มากขึ้น วิศวกรรมการส่องสว่างจะ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของปริมาณทางแสง, ลักษณะ การกระจายแสง รวมไปถึงพลังงานที่ใช้สำหรับแหล่งกำเนิด แสงด้วย เช่น การวิเคราะห์หาค่าความเข้มแสง1: ความ ส่องสว่าง2 (Illuminance : Lux )






, ความเข้มส่องสว่าง1 : ความเข้มแสง2 (Luminous Intensity : Cd), และความ ส่องสว่าง1 : ความสว่าง2 (Luminance : Cd/m2) เพื่อนำ ไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบระบบแสงสว่างให้เหมาะสม กับพื้นที่ใช้งาน พื้นฐานการวัดลักษณะการกระจายแสงของ ดวงโคมไฟฟ้า ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการออกแบบ ระบบแสงสว่าง กล่าวคือข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณทางด้าน แสงสว่างข้างต้น จะเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ในการที่จะเลือกใช้ดวงโคมไฟฟ้า, การหาจำนวนดวงโคม ไฟฟ้า รวมไปถึงการหาตำแหน่งติดตั้งที่เหมาะสมของ ดวงโคมไฟฟ้า และหากปราศจากข้อมูลเหล่านี้ ก็จะทำให้การ ออกแบบระบบแสงสว่างกลายเป็นงานที่ยุ่งยาก, ซับซ้อน และเสียเวลามาก บทความนี้จะนำเสนอพื้นฐานการวัดลักษณะ การกระจายแสงของดวงโคมไฟฟ้า หลักการและทฤษฎีที่ใช้ รองรับ ปัจจัยต่างๆ ที่มีผล และต้องคำนึงถึงในการวัด ผลที่ได้ จากการวัด และการประยุกต์ใช้งาน ผลการทดสอบจาก การวัด โดยจะใช้ข้อมูลจริงที่ได้จากการวัดในห้องปฏิบัติ การจริง มาเป็นตัวอย่างประกอบด้วย


ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง

- ดวงโคมไฟฟ้าที่ใช้ในการทดสอบหมายถึง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการกระจายแสงที่เปล่งออก มาจากหลอดเปลือย เพื่อให้แสงสว่างตกไปในทิศทาง ที่ต้องการ ประกอบไปด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ตัวสะท้อนแสง (Reflector), ตัวหักเหแสง (Refractor), และฝาครอบดวงโคม (Housing) ในบทความนี้จะแบ่ง ดวงโคมไฟฟ้าที่จะทำการทดสอบออกเป็น 3 ประเภท ด้วยกัน คือ

- ดวงโคมภายใน (Interior Luminaires) สำหรับ ติดตั้งภายในอาคารสำนักงานทั่วๆ ไป

- ดวงโคมฉาย (Floodlight Luminaires) สำหรับติดตั้งสนามกีฬา, ยิมเนเซี่ยม, สระว่ายน้ำ ฯลฯ

- ดวงโคมไฟถนน (Roadway Luminaires) สำหรับติดตั้งตามถนนทั่วไป เช่น ทางต่างระดับ, ทางหลวง, ถนนซูเปอร์ไฮเวย์ ฯลฯ

- ปริมาณทางการส่องสว่าง ปริมาณที่เกี่ยวข้อง กับการส่องสว่างมีมากมาย แต่ในบทความนี้จะเลือก กล่าวถึงเฉพาะที่สำคัญ 4 ค่าเท่านั้นประกอบด้วย ฟลักซ์ส่องสว่าง (Luminous Flux : Lumen) ความเข้มแสง, ความเข้มส่องสว่าง และความส่องสว่าง

- ฟลักซ์ส่องสว่าง (Luminous Flux ; Lumen) คือปริมาณของแสงที่แพร่กระจายออกจากแหล่งกำเนิด แสง หรือปริมาณของแสงที่ฉายลงบนพื้นผิวหนึ่ง มีหน่วย เป็นลูเมน (Lumen ; lm)

- ความเข้มแสง (Illuminance ; E ; Lux) คือ ฟลักซ์ส่องสว่างที่ตกกระทบส่วนย่อยหนึ่งของพื้นที่ผิว นั้นหารด้วยพื้นที่ของส่วนย่อยนั้น มีหน่วยเป็น ลักซ์ ( Lux ; lx ) ถ้าพื้นที่มีหน่วยเป็นตารางเมตร หรือฟุตแคนเดล (Footcadle;fc) ถ้าพื้นที่มีหน่วยเป็นตารางฟุต โดย 1 ฟุตแคนเดล = 10.764 ลักซ์

- ความเข้มส่องสว่าง (Luminous Intensity ; I ; Cd) คือ ฟลักซ์ส่องสว่างที่ออกจากแหล่งกำเนิดแสง และ กระจายในส่วนย่อยของมุมเชิงของแข็งในทิศทางที่กำหนด ต่อส่วนย่อยของมุมเชิงของแข็งนั้น มีหน่วยเป็นแคนเดลา (Candela ; Cd) - ความส่องสว่าง (Luminance; L ; Cd/m2) คือ ฟลักซ์ส่องสว่างต่อหน่วยของพื้นที่ที่ตกกระทบ และ หน่วยของมุมเชิงของแข็ง ไม่ว่าจะออกจากพื้นผิวที่กำหนด หรือมาถึงพื้นที่ผิวที่กำหนดให้จากทิศทางที่กำหนด มีหน่วย แคนเดลาต่อตารางเมตร(Candela/m2)


หลักการและวิธีการ

การที่จะหาลักษณะการกระจายแสงของ ดวงโคมไฟฟ้าสามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งโดยทางตรง และทางอ้อม วิธีการหนึ่งที่เป็นที่นิยมกันมาก และจะ กล่าวถึงในบทความนี้ ก็คือการหาลักษณะการกระจายแสง โดยทางอ้อมแบบอาศัยกระจกหมุน (Indirect Mirror-Gonio Photometer) เนื่องจากมีข้อดีหลายประการคือ สามารถทำ การวัดกับดวงโคมได้หลากหลายชนิด, มีความถูกต้อง แม่นยำในการวัดสูง, สะดวกในการติดตั้งดวงโคมที่จะทำ การทดสอบ, ใช้พื้นที่ในการทดสอบน้อย, และสามารถ ควบคุมการทำงานให้เป็นแบบอัตโนมัติได้เกือบ 100 % ในบทความนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่

- ส่วนของโครงสร้าง ( Hardware Component ) อันประกอบไปด้วยห้องที่ใช้ในการทดสอบ, ตัวจับยึดโคม, ตัวรับแสง, ดวงโคมไฟฟ้าที่ใช้ในการทดสอบ, มิเตอร์ที่ใช้ ในการวัดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ, กระจกที่ใช้ในการสะท้อนไป ยังตัวรับแสง รวมไปถึงสภาพแวดล้อมภายในห้องทดสอบ ด้วย

- ส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software Component) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ในการ ควบคุมการทำงานของระบบทั้งหมดที่ใช้ในการวัด เพื่อ หาลักษณะการกระจายแสงของดวงโคมไฟฟ้า ตั้งแต่เริ่ม ทำการวัด จนกระทั่งเก็บค่าข้อมูลที่ได้จากการวัดในรูปแบบ มาตรฐาน (IESNA File Format) โดยการทำงานจะเป็นแบบ อัตโนมัติทั้งหมด การวัดค่าปริมาณทางแสงโดยใช้เครื่อง วัดทางอ้อมแบบอาศัยกระจกหมุน (Indirect Mirror-Gonio Photometer) อาศัยหลักการสะท้อนของแสงสว่าง โดย กระจกเงาจะทำหน้าที่สะท้อนแสงจากแหล่งกำเนิด มา ยังจุดรับแสงของตัวรับแสง โดยมีฉากกั้นแสงคอยป้องกัน ไม่ให้แสงที่มาจากแหล่งกำเนิดแสงผ่านมายังตัวรับแสง โดยตรง เราจึงเรียกวิธีนี้ว่าเป็นการวัดแสงทางอ้อม
โดยเครื่องจะมีแกนหมุนในแนวดิ่งสำหรับหมุน ดวงโคมที่ทำการทดสอบเป็นการปรับเปลี่ยนมุมในระนาบ แกนนอน (C plane) ไปยังตำแหน่งที่ต้องการทดสอบ ซึ่ง สามารถกำหนดความละเอียดในการวัดได้เช่นเดียวกัน กับการหมุนแขนของกระจก เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยน มุมในระนาบแนวตั้ง (g plane) ซึ่งทั้งสองระนาบเป็นการ วัดค่าปริมาณทางแสงตามระบบอ้างอิง C-g Coordinat

ค่าปริมาณทางแสงที่วัดได้จากเครื่องนั้นจะถูก บันทึกข้อมูลลงสู่คอมพิวเตอร์ ควบคุมโดยโปรแกรมที่ได้ เขียนขึ้นสำหรับควบคุมเครื่องโดยเฉพาะ โดยข้อมูล ที่ได้รับนั้นจะถูกเก็บบันทึกเป็นรูปแบบมาตรฐาน เรียกว่า รูปแบบการเก็บข้อมูลการกระจายแสงดวงโคมไฟฟ้า (IESNA Standard File Format Data Storage ; IES Files) เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับและนิยมใช้กัน ทั่วโลก ซึ่งเราสามารถนำแฟ้มข้อมูลดังกล่าว ไปใช้ในการ ออกแบบและวิเคราะห์ระบบแสงสว่างได้ตามที่เราต้องการ ต่อไป

ส่วนของโปรแกรมจะทำหน้าที่ในการควบคุม ลำดับขั้นตอน การทำงานของตัวเครื่องให้เป็นไปอย่าง ถูกต้องและแม่นยำ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ช่วยในการ คำนวณและนำเสนอผลการทดสอบที่ได้จากการวัดออกมา ในรูปของรายงานการทดสอบในรูปแบบต่างๆ เพื่อสะดวกใน การวิเคราะห์เบื้องต้น และการใช้งานอีกด้วย ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการทดสอบ

ในการทดสอบเพื่อหาค่าปริมาณทางแสงให้ได้ อย่างถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพนั้น เราจำเป็นที่จะ ต้องมีการควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อค่าปริมาณ ทางแสงที่วัดได้ ให้มีความผิดเพี้ยนน้อยที่สุด นั่นคือ Geometry เพื่อให้การทดสอบเป็นไปอย่างถูกต้อง และน่าเชื่อถือมากที่สุด พบว่าทั้งตัวรับแสง (Photocell) และ ดวงโคมไฟฟ้า (Luminaires) ต้องอยู่ในระยะพิกัด (Co-ordinate) ที่ถูกต้อง โดยที่ศูนย์กลางของดวงโคมที่เรา จะทำการทดสอบต้องอยู่ในแนวแกนเดียวกันกับตัวรับแสง และความผิดพลาดของความแม่นยำเชิงมุมของแกน หมุนทั้งสองต้องไม่เกิน 0.5 องศา กระจกต้องเรียบ และ ไม่มีการบิดหรืองอตัวขณะทำการทดสอบ ระยะทางระหว่าง ดวงโคมทดสอบกับตัวรับแสงที่ใช้ต้องไม่ต่ำกว่า 5 เท่า ของ มิติสูงสุดของดวงโคมไฟฟ้าที่ทดสอบ Stray light เราทราบดีว่า ตัวรับแสงจะรับแสง ทั้งหมดที่ตกลงบนตัวมัน แต่สิ่งที่เราต้องการ เราจะสนใจ เฉพาะแสงที่มาตกกระทบ ตัวรับแสงที่มาจากกระจก สะท้อนเท่านั้น ส่วนแสงจากแหล่งอื่นๆ เช่น กำแพง ผนัง เพดาน แสงสะท้อนจากตัวเครื่องทดสอบเอง หรือแสง เล็ดลอดจากภายนอก ล้วนแล้วแต่มีผลทำให้ค่าปริมาณ ทางแสงที่วัดได้ผิดเพี้ยนไปทั้งสิ้น เป็นการยากที่จะลด Stray light ลงให้เท่ากับศูนย์เลย ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดก็น่าจะเป็น การวัดค่าของแสงรบกวนจากแหล่งอื่นๆ ที่เกิดขึ้น และจะ กระทบกับตัวรับแสง จากนั้นค่อยนำมาทำการชดเชยค่า เพื่อ หักล้างความผิดพลาดที่เกิดขี้นอีกทีหนึ่ง จะใช้ในกรณีของ หลอดขนาด 400 วัตต์ ขึ้นไปเท่านั้น Response Photocell หมายถึง ตัวรับแสงlV( ที่จะใช้ในการวัดจะต้องตอบสนอง Spectrums ของแสง ที่ใกล้เคียงกับที่ตาคนเรามองเห็นให้มากที่สุด มิฉะนั้น จะเกิดความผิดพลาดจากการวัดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวัดแสงที่เป็นสีต่าง ๆ

Input (V,I) to lamp พบว่า ค่าฟลักซ์ส่องสว่าง ของหลอดที่นำมาทำการทดสอบจะขึ้นอยู่กับพลังงานไฟฟ้า ที่จ่ายเข้าให้กับระบบของหลอด ดังนั้นเราจึงต้องมีการตรวจ สอบดูค่ากำลังงานไฟฟ้าที่ป้อนเข้าให้กับดวงโคมที่ทำการ ทดสอบอยู่ตลอดเวลา เพื่อดูความเป็นไปในทุกตัวแปร ที่มีผลกระทบพารามิเตอร์ ทั้งแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และกำลังไฟฟ้าที่ใช้ไปในแต่ละส่วนได้ ในปัจจัยนี้มีข้อ แตกต่างกันของการวัดปริมาณทางแสงของ 2 ระบบ นั่นคือ - IESNA Syetem จะทำการตรวจสอบและควบคุม ให้พิกัดกำลังที่ป้อนเข้าดวงโคมไฟฟ้าที่ทำการทดสอบมีค่าคงที่

จากผลการวิจัย พบว่า เปอร์เซ็นต์ความเพี้ยนที่ เกิดจากการควบคุมให้พิกัดกำลังคงที่โดยเฉลี่ยมีค่าน้อยกว่า ที่เกิดจากการควบคุมให้พิกัดแรงดันคงที่ แต่ระบบการ ควบคุมแรงดันคงที่ยังเป็นที่นิยม เนื่องจากสามารถสร้าง ระบบ และทำการควบคุมได้ง่ายกว่า

Accuracy and linearity of meters เครื่องมือที่ใช้ ในการวัด ควรจะเป็นเครื่องมือที่มีความน่าเชื่อถือได้ค่อน ข้างสูง และควรที่จะมีการ Calibrate เครื่องมือที่ใช้อย่างน้อย ทุกๆ 2 ปี Environment สภาพแวดล้อมจากภายนอกก็ส่ง ผลกระทบถึงปริมาณทางแสงที่วัดได้เช่นกัน ในที่นี้จะ กล่าวถึงเพียง 2 ปัจจัยที่มีผลค่อนข้างมาก นั่นคือ

- ผลจากอุณหภูมิหลอดแก๊สดิสชาร์จมีความไว ต่ออุณหภูมิค่อนข้างมาก พบว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงของ อุณหภูมิไปจากอุณหภูมิที่เหมาะสมเพียงน้อยนิด ค่าฟลักซ์ ที่ออกมาจากหลอดก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้นจึงต้องมี การควบคุมอุณหภูมิไว้ที่อุณหภูมิห้อง (25oC+1) และควรที่ จะมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศและเทอร์โมมิเตอร์ไว้ใน จุดที่ใกล้จุดติดตั้งดวงโคมด้วย เพื่อตรวจสอบอุณหภูมิที่จะ ส่งผลกระทบกับปริมาณทางแสงที่จะผิดเพี้ยนไปได้ - ความชื้นสัมพัทธ์จะมีผลโดยตรงกับประสิทธิภาพ ของหลอดที่ใช้ในการทดสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณี ของหลอดฟลูออเรสเซนต์ ค่าความชื้นสัมพัทธ์ที่ยอมรับได้ ไม่ควรจะมีค่าเกินกว่า 65%

- Ballast Performance เป็นความเพี้ยน ซึ่งเกิด จากบัลลาสต์แต่ละตัว ที่แม้จะผลิตจากโรงงานเดียวกัน แต่ประสิทธิภาพในการทำงานของบัลลาสต์แต่ละตัว ไม่เท่ากัน ซึ่งแก้ไขได้โดยการใช้ค่าของบัลลาสต์แฟกเตอร์ มาทำการแก้ไข

- Man&Knowledgement ไม่มีระบบใดๆ ในโลก ที่จะทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ไร้ที่ติ ดังนั้นการที่จะทำงาน กับเครื่องมือวัดดังกล่าวให้ได้ผลที่ถูกต้อง และแม่นยำที่สุด ก็จำเป็นจะต้องใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ด้วย เพื่อให้ได้ผลการทดสอบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด





การส่องสว่างภายใน

· ระบบการให้แสงสว่างหลัก คือ การออกแบบระบบแสงสว่างให้มีความส่องสว่างเพียงพอตามมาตรฐานเพื่อการใช้งานในแต่ละพื้นที่นั้น ๆ
· ระบบการให้แสงสว่างรอง คือการออกแบบให้มีแสงสว่างให้เกิดความสวยงามหรือเน้นเพื่อให้เกิดความสนใจ สบายตา และ อารมณ์
· การให้แสงสว่างที่ดี ควรมีทั้วระบบการให้แสงสว่างหลักและแสงสว่างรอง

การส่องสว่างภายในบ้านอยู่อาศัย อพารต์เมนต์ และ โรงแรม
· แสงจากหลอดที่ให้แสงสีเหลืองดูน่าอบอุ่นสำหรับบ้านและโรงแรม
· ความส่องสว่างสำหรับพื้นที่ทั่วไปใช้ 100 - 200 ลักซ์
· โคมไฟส่องลงหลอดGLS 100 วัตต์ที่ความสูงฝ้า 2.4 - 2.7 เมตรติดตั้งห่างกันทุกๆ ระยะ 2 - 2.5 เมตร ให้ความส่องสว่างที่พื้นเฉลี่ย 100 ลักซ์
· ไม่ควรใช้ไฟเกินกว่า 80 % ของอัตราสวิตช์หรี่ไฟ
· การใช้โคมไฟระย้าควรมีโคมไฟชนิดอื่นช่วยให้แสงหลักด้วยเพื่อลดเงาที่เกิดเนื่องจากโคมไฟระย้า
· โคมระย้าใช้ 20 -25 วัตต์/ตารางเมตร/ 100 ลักซ์ และควรติดตั้งสวิตช์ไฟหรี่ด้วย
· การใช้โคมไฟระย้าควรระวัง ความสูงฝ้า และ นำหนักโคมระย้า
· โคมระย้าใช้ขนาดประมาณ 1/12 ของเส้นทะแยงมุมห้อง
· ช่องเปิดไฟหรืบควรมีขนาดอย่างน้อย 1/10 ของขนาดเบ้า
· ไฟหรืบฟลูออเสเซนต์ใช้ 8 - 12 วัตต์/ตารางเมตร/ 100 ลักซ์
· การให้แสงสว่างจากหรืบเพื่อส่องสว่างพืนที่ควรมีเพดานสีขาวหรือสีอ่อนมิฉะนั้นแล้วแสงจากไฟหลืบที่เพดานเป็นสีทึบก็เป็นเพียงไฟตกแต่งเท่านั้น


การส่องสว่างในสำนักงาน
· สำนักงานทั่วไปมักใช้โคมไฟตัวสะท้อนแสงอะลูมิเนียม ห้องหรือบริเวณสำคัญที่ไม่ต้องการแสงบาดตาก็ควรใช้โคมแบบมีตัวกรองแสงขาวขุ่นหรือแบบเกล็ดแก้ว( Prismatic Diffuser)
· ถ้าปิดเปิดไฟแสงสว่างของหลอดประเภทดิสชาร์จพร้อมๆ กันหลายๆ หลอดด้วยเบรกเกอร์ ไม่ควรใช้กระแสรวมมากกว่า 50% ของอัตราเบรกเกอร์
· ฟลูออเรสเซนต์ไม่เหมาะสำหรับเพดานที่สูงเกิน 7 เมตรขึ้นไปเพดานที่สูงควรใช้โคมไฮเบย์ (High Bay)
· พื้นที่งานที่ต้องการความส่องสว่างสูงมาก 1000 - 2000 ลักซ์ควรให้แสงสว่างจากโคมตั้งโต๊ะหรือใต้ตู้แทนที่จะให้จากโคมที่เพดาน


ความส่องสว่าง
· ถ้าเพดานสูงน้อยกว่า 4 เมตร ควรใช้โคมฟลูออเรสเซนต์
· ถ้าเพดานสูงระหว่าง 4 - 7 เมตร อาจใช้โคมโลเบย์
· ถ้าเพดานสูงมากกว่า 7 เมตร ควรใช้โคมไฮเบย์
· การใช้หลอดเมทัลฮาไลท์ขนาดวัตต์ต่างกันในพื้นที่เดียวกันอาจมีปัญหาในเรื่องสีของหลอดไม่เหมือนกันจนสังเกตได้
· การใช้หลอดปรอทความดันสูงอาจมีปัญหาในเรื่องแสงสีน้ำเงินที่ออกมามากในช่วงติดตั้งเริ่มแรก แต่จะจางลงเมื่อติดตั้งไปหลายเดือนแล้ว
· การใช้หลอดโซเดียมในโรงงานอุตสาหกรรมใช้ในกรณีไม่พิถีพิถันเรื่องสี
· การให้แสงสว่างแบบทั่วไปเหมาะกับงานที่ต้องการเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนย้ายเครื่องจักรหรือที่ทำงานตลอดเวลา
· การให้แสงสว่างแบบทั่วไปเฉพาะบริเวณใช้กับงานที่ไม่มีการเคลื่อนย้าย
· การให้แสงสว่างเฉพาะที่มักใช้กับงานที่ต้องการความส่องสว่างสูง
· การวางโคมฟลูออเรสเซนต์ให้วางแนวยาวตามทิศทางการมอง

ความส่องสว่างในโรงเรียน
· โคมประเภทมีครีบ(Fin Louver) ใช้ในโรงเรียนเพราะให้แสงบาดตาน้อย
· ห้องบรรยายควรจัดโคมและสวิตช์ดังนี้
1.โคมฟลูออเรสเซนต์วางตามทิศทางการมอง
2.ความส่องสว่างในห้อง 500 ลักซ์ และหน้าเวที 700 ลักซ์
3.การจัดสวิตช์ให้ปิดเปิดโคมตามแนวยาวและกลุ่มโคมที่หน้าห้องด้วย

ความส่องสว่างในโรงพยาบาล
· หลอดที่เหมาะสมสำหรับการตรวจรักษาโรคทั่วไปคือหลอดคูลไวท์ ยกเว้นโรคดีซ่านที่ใช้หลอดเดย์ไลท์เหมาะกว่า
· หลอดที่ใช้ในโรงพยาบาลควรใช้หลอดเหมือนกันทั้งหมดเพื่อไม่ให้หลอกตาเนื่องจากแสงที่ไม่เหมือนกันในพื้นที่ข้างเคียงกัน
· โคมที่เหมาะสำหรับงานโรงพยาบาลในบริเวณที่มีคนไข้ คือโคมที่มีแผ่นกรองแสงขาวขุ่นหรือเกล็ดแก้ว แต่มีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพของโคมที่ใช้ไฟฟ้ามาก
· แสงสว่างในห้องผ่าตัดควรสว่างมากเพื่อไม่ให้ต่างมากจากไฟแสงสว่างผ่าตัด
· ควรมีไฟฉุกเฉินจากแบตเตอรีในกรณีที่ไฟดับหมดรวมทั้งที่มาจากเครื่องกำเนิดด้วย

ความส่องสว่างในพิพิธภัณฑ์
· วัตถุที่ไวต่อ UV ไม่ควรให้แสงมากกว่า 120000 ลักซ์-ชม./ปี
· วัตถุที่ไม่ไวต่อ UV ไม่ควรให้แสงมากกว่า 180000 ลักซ์-ชม./ปี

ความส่องสว่างในร้านค้า และ ศูนย์การค้า
· หลอดให้แสงทั่วไปที่เหมาะกับศูนย์การค้าควรให้แสงที่ส่องทุกสีเด่น
· บริเวณที่ต้องการให้เห็นวัสดุสีขาว เช่น เครื่องเขียนควรใช้หลอดแสงสีขาว
· การส่องเน้นสินค้าไม่ควรใช้แสงสว่างสมำเสมอ






ผลการทดสอบ










จากการทำการทดสอบพบว่า จะได้ผลการทดสอบออกมาในรูปของแฟ้มของค่า ข้อมูลอักขระ (text file) โดยมีรูปแบบการจัดเก็บข้อมูล เป็นไปตามมาตรฐานของ IESNA ซึ่งทาง IESNA ได้กำหนด ให้ตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลชนิดนี้เป็น *.ies ในบทความนี้เราได้ยึด เอามาตรฐาน IES LM-54-1991 “IES Guide to Lamp Seasoning“ เป็นตัวที่ใช้อ้างอิง










สรุปผลการทดสอบ





จากการทำการทดสอบ และได้ทดลองเก็บผลของ ค่าปริมาณทางแสงพบว่า เครื่องมือวัดที่สร้างโดยใช้ หลักการของการเก็บค่าทางแสงโดยอ้อม แบบอาศัยกระจก หมุนสามารถทำการเก็บค่าข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะ การกระจายแสงได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ซึ่งข้อมูลที่ได้เหล่านี้ก็จะนำไปประมวลผลในรูปต่างๆ ดังที่ได้ กล่าวไว้ข้างต้น เพื่อจะเป็นต้นแบบของการพัฒนาในด้าน วิศวกรรมการส่องสว่างต่อไป










แสงจากภายนอกที่มีประสิทธิภาพต้องการการพิจารราอย่างรอบคอบในหลายๆประเด็น ข้อพิจารณาแรกๆบางอัน ซึ่งถูกประเมินระหว่างกระบวนการการออกแบบได้แก่
-ให้การมองเห็นที่ดี
-เลือกระดับความเข้มข้นของแสงสว่างที่บอกถึงความงาม ซึ่งจำเป็นต่อ การใช้สอย
-ควบคุมแสงที่ปล่อยออกมา สู่ท้องฟ้ายามค่ำคืน ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางแสง
-สร้างพื้นที่ที่ปลอดภัย
-ลดความไม่สบายตา จากแสง
-เลือกระบบควบคุมพลังงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ดูแลรักษาสถาบัน


สมาชิก
IESNA มีประมาณ 9000 คนทั่วโลกส่วนใหญ่ใน ประเทศสหรัฐอเมริกา, แคนาดา และ เม็กซิโก แต่มีสมาชิกในประเทศอื่นๆ. Members include engineers , Lighting Designers , consultants, lighting equipment manufacturers, sales professionals, electrical contractors, architects, researchers and academics. รวมถึงสมาชิก วิศวกร, ออกแบบแสงสว่าง ปรึกษา, แสงผลิตเครื่องมือมืออาชีพขายผู้รับเหมาไฟฟ้าสถาปนิกนักวิจัยและนักวิชาการ.

องค์กร
Organizationally ของสังคมแบ่งเป็นประมาณ 100 ส่วนในพื้นที่ให้บริการใหญ่ใน North American หลังจากจบการประชุมIESNAและการประชุมอื่นๆร่วมด้วยได้แก่ Lightfair International จะมีการพบปะกับสมาชิกเป็นประจำเพื่อให้เทคนิคและความรู้ใหม่ๆ

ความรู้พื่นฐานทางด้านการส่องสว่าง

พื้นฐานทางด้านการส่องสว่างมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ก่อน ที่จะเข้าไปดำเนินการในเรื่องการประหยัดพลังงานแสงสว่าง พื้นฐานการส่องสว่างที่จะกล่าวถึงในที่นี้จะกล่าวเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น

1.1 ความส่องสว่างและความสว่าง

1.1.1 ความส่องสว่าง (อิลูมิแนนซ์) หมายถึงปริมาณแสงที่กระทบลงบนวัตถุต่อพื้นที่ มีหน่วยเป็น ลูเมนต่อตารางเมตร หรือ ลักซ์ (ถ้าหน่วยเป็น ลูเมนต่อตารางฟุต ความส่องสว่างก็เป็น ฟุตแคนเดิล)
อิลูมิแนนซ์ = ปริมาณแสง ( ลูเมน )
พื้นที่ ( m2 )

1.1.2 ความสว่าง (ลูมิแนนซ์) หมายถึงปริมาณแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุต่อพื้นที่ มีหน่วยเป็น แคนเดลาต่อตารางเมตร ปริมาณแสงที่เท่ากันเมื่อตกกระทบลงมาบนวัตถุที่มีสีต่างกันจะมีปริมาณแสงสะท้อนกลับต่างกัน นั่นคือ ลูมิแนนซ์ ต่างกัน สาเหตุที่ต่างกันก็เนื่องมาจากสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสงของวัสดุต่างกัน

1.2 องศาเคลวิน

การบอกสีทางด้านการส่องสว่างมักด้วยอุณหภูมิสี ซึ่งหมายถึงสีที่เกิดจากการเผาไหม้วัสดุสีดำซึ่งมีการดูดซับความร้อนได้สมบูรณ์ด้วยอุณหภูมิที่กำหนด เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์คูลไวท์มีอุณหภูมิสี 6500 องศาเคลวิน หมายถึง เมื่อเผาวัตถุสีดำให้ร้อนถึงอุณหภูมิ 6500 เคลวิน วัตถุนั้นจะเปล่งแสงออกมาเป็นสีคูลไวท์หรือขาวปนน้ำเงิน เป็นต้น
ตัวอย่างอุณหภูมิสีของหลอดต่างๆเป็นดังนี้น
เทียนไข 1900 เคลวิน
หลอดอินแคนเดสเซนต์ 2800 เคลวิน
หลอดฟลูออเรสเซนต์
- เดย์ไลท์ (Daylight ) 6500 เคลวิน
- คูลไวท์ (Cool White ) 4500 เคลวิน
- วอร์มไวท์ (Warm White ) 3500 เคลวิน




1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิสีและความส่องสว่าง

การเลือกชนิดของหลอดที่ใช้ควรให้สัมพันธ์กันระหว่างความส่องสว่าง (ลักซ์) และ อุณหภูมิสีของหลอด พิจารณารูปที่ 1.1 ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความส่องสว่างและอุณหภูมิสี ความหมายกราฟในรูปที่ 1.1 หมายถึง หลอดที่มีอุณหภูมิต่ำควรใช้กับความส่องสว่างต่ำ หลอดที่มีอุณหภูมิสีสูงควรใช้กับความส่องสว่างสูง และ ถ้าใช้หลอดที่มีอุณหภูมิสีต่ำกับความส่องสว่างสูงจะตกไปในแรเงาด้านบนจะรู้สึกจ้า และถ้าใช้หลอดที่มีอุณหภูมิสีสูงกับความส่องสว่างต่ำจะรู้สึกทึม ดังแสดงในกราฟแรเงาด้านล่าง
ตัวอย่างการเลือกสีของหลอดให้สัมพันธ์กับความส่องสว่างของแต่ละงานจากราฟในรูปที่ 1 เช่น
ร้านอาหารสลัว ความส่องสว่าง 20 ลักซ์ ควรใช้หลอด 2000 องศาเคลวิน
นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมร้านอาหารไฟสลัวจึงจุดเทียนไข
บ้านอยู่อาศัย ความส่องสว่าง 100 ลักซ์ ควรใช้หลอด 2500 องศาเคลวิน
นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมบ้านอยู่อาศัย หรือโรงแรมจึงใช้หลอดอินแคนเดสเซนต์ ฮาโล
เจนหรือหลอดวอร์มไวท์
สำนักงาน ความส่องสว่าง 500 ลักซ์ ควรใช้หลอด 4000 องศาเคลวิน
ห้องเขียนแบบ ความส่องสว่าง 700 ลักซ์ ควรใช้หลอด 4500 องศาเคลวิน

1.4 หลอดไฟฟ้าต่างๆ , ลูเมนและอายุการใช้งานของหลอด

หลอดไฟฟ้าแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ดังนี้
1.4.1 หลอดอินแคนเดสเซนต์ หรือหลอดมีไส้
1.4.2 หลอดปล่อยประจุ เป็นหลอดที่ไม่ต้องใช้ไส้หลอด หลอดในตระกูลนี้มีหลอดฟลูออเรสเซนต์ (หลอดปรอทความดันไอต่ำ) หลอดคอมแพคท์ หลอดปรอทความดันไอสูง หลอดโซเดียมความดันไอต่ำสูงและสูง หลอดเมทัลฮาไลด์

1.4.3 หลอดอินแคนเดสเซนต์ เป็นหลอดมีใส้ที่มีประสิทธิผล (Efficacy) ต่ำ และมีอายุการใช้งานสั้นในเกณฑ์ประมาณ 1,000-3,000 ชม. หลอดประเภทนี้มีอุณหภูมิสีประมาณ 2,800 องศาเคลวิน แต่ให้แสงที่มีค่าความถูกต้องของสี 100 %

1.4.4 หลอดฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอดปล่อยประจุความดันไอต่ำ สีของหลอดมี 3 แบบคือ daylight cool white และ warm white ชนิดของหลอดชนิดนี้ที่ใช้งานกันทั่วไปคือแบบ Linear ขนาด 18 และ 36 วัตต์ และ Circular 22 32 และ 40 วัตต์ และมีประสิทธิผลประมาณ 50-80 ลูเมนต่อวัตต์ ถือว่าสูงพอสมควรและประหยัดค่าไฟฟ้าเมื่อเทียบกับหลอดอินแคนเดสเซนต์ซึ่งมีค่าประมาณ 10-15 ลูเมนต่อวัตต์ และมีอายุการใช้งาน 9,000-12,000 ชม.

1.4.5 หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอดปล่อยประจุความดันไอต่ำ สีของหลอดมี 3 แบบคือ daylight cool white และ warm white เช่นเดียวกันกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ แบบที่ใช้งานกันมากคือหลอดเดี่ยว มีขนาดวัตต์ 5 7 9 11 วัตต์และหลอดคู่ มีขนาดวัตต์ 10 13 18 26 วัตต์ เป็นหลอดที่พัฒนาขึ้นมาแทนที่หลอดอินแคนเดสเซนต์ และมีประสิทธิผลสูงกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์ คือประมาณ 50-80 ลูเมนต่อวัตต์ และ อายุการใช้งานประมาณ 5,000-8,000 ชม


1.4.6 หลอดโซเดียมความดันไอต่ำ หลอดประเภทนี้มีสีเหลืองจัดและประสิทธิผลมากที่สุดในบรรดาหลอดทั้งหมด คือ มีประสิทธิผลประมาณ 120-200 ลูเมนต่อวัตต์ แต่ความถูกต้องของสีน้อยที่สุด คือ มีความถูกต้องของสีเป็น 0 % ข้อดีของแสงสีเหลืองเป็นสีที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ดีที่สุด หลอดประเภทนี้จึงเหมาะเป็นไฟถนนและอายุการใช้งานนานประมาณ 16,000 ชม หลอดมีขนาดวัตต์ 18 35 55 90 135 และ180 วัตต์


1.4.7 หลอดโซเดียมความดันไอสูง หลอดโซเดียมความดันไอสูงมีประสิทธิผลรองจากหลอดโซเดียมความดันไอต่ำ คือ มีประสิทธิผลประมาณ 70-90 ลูเมนต่อวัตต์แต่ความถูกต้องของสีดีกว่าหลอดโซเดียมความดันไอต่ำ คือ 20 % และมีอุณหภูมิสีประมาณ 2,500 เคลวิน เป็นอุณหภูมิสีต่ำเหมาะกับงานที่ไม่ต้องการความส่งสว่างมาก เช่น ไฟถนน ไฟบริเวณ ซึ่งต้องการความส่องสว่างประมาณ 5-30 ลักซ์ และอายุการใช้งานประมาณ 24,000 ชม มีขนาดวัตต์ 50 70 100 150 250 400 และ 1,000 วัตต์


1.4.8 หลอดปรอทความดันไอสูง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหลอดแสงจันทร์ และมีประสิทธิผลสูงพอกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ คือ มีประสิทธิผลประมาณ 50-80 ลูเมนต่อวัตต์ แสงที่ออกมามีความถูกต้องของสีประมาณ 60 % ส่วนใหญ่ใช้แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์เมื่อต้องการวัตต์สูงๆในพื้นที่ที่มีเพดานสูง อุณหภูมิสีประมาณ 4,000-6,000 เคลวิน แล้วแต่ชนิดของหลอด และอายุการใช้งานประมาณ 8,000-24,000 ชม มีขนาดวัตต์ 50 80 125 250 400 700 และ 1,000 วัตต์

1.4.9 หลอดเมทัลฮาไลด์ หลอดเมทัลฮาไลด์ก็เหมือนกับหลอดปล่อยประจุอื่นๆ แต่มีข้อดีที่ว่ามีสเปกตรัมแสงทุกสี ทำให้สีทุกชนิดเด่นภายใต้หลอดชนิดนี้ นอกจากความถูกต้องของสีสูงแล้ว แสงที่ออกมาก็อาจมีตั้งแต่ 3,000-4,500 เคลวิน (ขึ้นอยู่กับขนาดของวัตต์) ส่วนใหญ่นิยมใช้กับสนามกีฬาที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์ มีอายุการใช้งานประมาณ 6,000-9,000 ชม และมีขนาดวัตต์ 100 125 250 300 400 700 และ 1,000 วัตต์