วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

บทสัมภาษณ์รุ่นพี่ลาดกระบังที่เป็น idol


บทสัมภาษณ์คุณเยี่ยมหญิง ฉัตรแก้ว

ประวัติส่วนตัว?
-ชื่อ น.ส.เยี่ยมหญิง ฉัตรแก้ว ชื่อเล่น ดุ๊ก อายุ 30 ปี ชื่อคณะ ลูกอ่าห์

เรียนจบปีไหน ต่อโทที่ไหน ทำงานที่ไหน?
-จบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปี 39 ต่อโทร คณะ MBA ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำงานอยู่ บ.สถานี้ 1.618 จำกัด

พี่มีมุมมองอย่างไรก่อนเข้าเรียนในวิชาชีพนี้?
-เนื่องจากเพื่อนบ้านที่เป็นรุ่นพี่ที่เรียนคณะสถาปัตยกรรม แล้วพี่ดุ๊ก ก็ได้มีโอกาสที่ได้ไปช่วยงานเพื่อนบ้านของพี่คนนี้ แล้วรู้สึกชอบ และได้ยินจากที่เพื่อนบ้านบอกว่า ไม่ต้องมีสอบ ไม่ต้องอ่านหนังสือหนัก เรียนแต่วาดรูป เขียนแบบ ซะส่วนใหญ่ เลยทำให้พี่ดุ๊ก สนใจที่จะเรียนในสาขาวิชานี้

มุมมองขณะเรียนวิชาชีพนี้?
-เนื่องจากตอนนั้น พี่เค้ายังเด็ก พี่เค้าเลยเรียนๆ เล่นๆ ซะส่วนใหญ่และเนื่องจากรุ่นของพี่เค้ามีงานลาดกระบังนิทรรศ เลยทำให้มีอยู่ช่วงหนึ่งไม่ค่อยได้เรียน และได้มีโอกาสซ่อมอาคาร และวาดรูปติดผนังห้องเรียน เลยทำให้พี่รู้สึกสนุกกับการเรียนในตอนนั้น ที่ยังไม่ค่อยมีงานหนักอะไรมากมาย

แล้วมุมมองหลังศึกษาวิชาชีพนี้เป็นอย่างไร ?
-ตอนจบใหม่ๆด้วยความที่ไม่ได้คาดหวังอะไร ก็เป็นไปตามลำดับ ขณะเรียน ตั้งใจไว้หรือไม่ ที่จะประกอบวิชาชีพสถาปนิก? -เนื่องจากตอนเรียนแล้วทำผลงานออกมาได้ดี แล้วชอบ ก็ตั้งใจที่จะทำอาชีพนี้ ต่อมาได้มีโอกาสได้ทำงานที่บริษัท A49 คือทำงานเกี่ยวกับsupport มากกว่า พวกทำหนังสือบริษัท ทำมาตรฐานบริษัท ทำเวป จากนั้นเริ่มรู้สึกว่าไม่ชอบ และทางบ้านเริ่มอยากให้เรียนต่อ เลยตัดสินใจไปเรียน MBA แล้วก็คิดว่ายังรักในสาขาวิชาชีพนี้อยู่ก็เลยกลับมาทำ และได้มีโอกาสพบกับเพื่อนเก่า ก็คือพี่แนน หรือพี่ นานา และได้ทำงานรีสอร์ทชิ้นหนึ่งโดยที่ได้มาจากพี่ที่บริษัทแห่งหนึ่งอีกที

ลักษณะงานการปฏิบัติวิชาชีพ ทำอะไร?
-เนื่องจากพี่และเพื่อนร่วมงานมีความชอบเดียวกัน คือ อยากทำงานใหม่ๆเลย ทำงานออกแบบสถาปัตยกรรม และ ตกแต่งภายใน ทั่วไป แล้วภายหลังเริ่มมีงานรับเหมา เนื่องจากมีลูกค้ารายนึงที่อยากได้ทีมที่ทำทั้งรับเหมาและออกแบบ ก็เลยลองทำ และได้หาทีมในการรับเหมาในส่วนของออกแบบภายในด้วย ก็เป็นผลดีที่ตอนออกแบบครั้งต่อไปต้องคิดเผื่อไว้ก่อนเลย ไม่ต้องคอยมาแก้ในภายหลัง

อุดมคติในการทำงาน หรือ แนวคิดที่ดำรงวิชาชีพนี้?
- ทุกคนเมื่อทำงานมาได้ระดับนึงแล้วจะคิดว่า ทำไปเพื่อเงิน ถ้าทำแบบนี้แล้ว จะไม่มีความสุขกับการทำงาน พี่จะหาบางอย่างให้มีความสุขกับการทำงานไปด้วย แล้วก็มีความสุขกับงานจะทำให้ได้งานออกมาดี และทำงานให้ออกมาถูกใจกับงานทั้งผู้ออกแบบทั้งผู้จ้าง หรือแม้กระทั่งคนพบเห็น

ปัญหาในการทำงาน?
- ส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาหน้างานมากกว่า อย่างเช่นตอนRenuvate บ้านและต้องทุบผนัง แล้วไปเจอท่อ ก็ต้องมาแก้แบบ แล้วต้องจำไว้ว่าต้องไม่ทุบผนังแนวนี้ ผนังนี้มีท่อนะ อะไรประมาณนี้ ตอนจบใหม่ๆ ไม่กล้าเรียกค่าบริการวิชาชีพแพง

อุปสรรคในการปฏิบัติวิชาชีพคืออะไร?
-ออกแบบงานไปแล้วประสบปัญหาต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ และ สึนามิ และทำให้ลูกค้าบางคนไม่เข้าใจว่า งานที่ไม่ได้สร้างต้องจ่ายเงินให้ด้วยเหรอ กับ ลูกค้าบางคนที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบงานแบบไหน ชอบตอบว่าไม่รู้ อยากได้แบบไหนก็ตอบว่าไม่รู้ ทำให้เวลาออกแบบไปแล้ว มีปัญหาแล้วต้องมาแก้ในภายหลัง และอีกปัญหาหนึ่งก็คือ ลูกค้าอยากได้งานที่สวย งานดี แต่ประหยัด ทำให้ ในบางครั้งก็จำกัดความคิดในการออกแบบของเรา หรือไม่ตอนออกแบบไปแล้วบอกว่าชอบ แต่พอสร้างจริงแล้ว งบไม่พอ ต้องมาแก้แบบใหม่ในภายหลัง

ขั้นตอนการเปิดบริษัท?
- เริ่มจากการเป็นสถาปนิกอิสระ และได้รับงานกับรุ่นพี่ที่อยู่บริษัท และภายหลังอยากเปิดบริษัทโดยทำแบบกึ่งสถาปนิกอิสระ และจ้างวิศวะ กับรับเหมาก่อสร้างอีกที แต่การเปิดบริษัทกับการเป็นสถาปนิกอิสระก็คล้ายๆ แต่การเปิดบริษัทต้องมีการบริหารจัดการ

เหตุผลที่เปิดบริษัท?
-เนื่องจากภายหลังเริ่มมีงานเข้ามาเรื่อยๆ และต้องการที่จะให้มีความน่าเชื่อถือ จึงได้คุยกับเพื่อนและตั้งบริษัทขึ้นมา

มีความคิดเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับบริษัทที่ใหญ่ๆ?
- เนื่องจากพี่เป็นคนที่ชอบอิสระ และมีความสุขกับงาน และยังมีอีกหลายอย่างที่ยังไม่ได้ทำ และเหมือนยังมีความคิดที่จะหาอาชีพเสริม อื่นๆลองทำ
อยากทำงานที่ต่างประเทศบ้างหรือไม่ ?
- ไม่ เนื่องจากพี่ชอบอยู่เมืองไทย บางทีเปิดหนังสือของต่างประเทศ ก็มีความรู้สึกว่าอยากทำแต่ไม่ได้มีความรู้สึกว่าอยากไปอยู่ต่างประเทศ แต่ถ้ามีโอกาสที่ชาวต่างชาติจ้างก็ทำ หรือ บางครั้งก็รอให้มีคนจ้าง เหมือนกับให้มีโอกาสหรือ พรหมลิขิตที่จะได้สร้างงานที่อยากทำ หรือไม่ก็เก็บเงินแล้วสร้างเองเลย
อยากมีเชื่อเสียงในวงการสถาปนิกหรือไม่?
- ไม่ต้องมีความคิดที่แบบว่าต้องดัง แต่คิดว่า ทำงานออกมาแล้วผู้พบเห็น ชอบหรือสนใจว่าใครออกแบบนะ แต่ถ้าได้มีโอกาสที่มีหนังสือหรือนิตยสารได้มาถ่ายรูปผลงานก็รู้สึกHappy และก็ภาคภูมิใจดี
มีการอัพเดทข่าวสาร กฎหมาย ความเคลื่อนไหวของวงการสถาปนิกอย่างไร ?
-จากหนังสือออกแบบ และหนังสือสถาปนิกทั่วไป และเพื่อนๆที่เป็นสถาปนิกที่เคยทำงานนั้นๆมาก่อน
สิ่งที่อยากฝากกับนักศึกษาที่กำลังจะจบออกมาเป็นสถาปนิก?
-สำหรับนักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่มีโอกาสที่จะได้ลองผิดลองถูก มีโอกาสที่จะได้ล้มลุกคลุกคลานเองตั้งแต่เนิ่นๆ และเก็บไว้เป็นประสบการณ์ ดีกว่า มาล้มตอนแก่ จะรู้สึกเจ็บมากกว่า

มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการมีวิชาเรียนนี้ แล้วต้องมาสัมภาษณ์ครั้งนี้?
-คิดว่าช้าไปที่ให้มีเรียนวิชานี้ในปี 5 น่าจะมีให้เพื่อนักศึกษามีแรงกระตุ้นหรือสิ่งจูงใจที่จะทำให้ตั้งใจเรียนหรือจริงจังกับการเรียน เพราะมันเป็นเรียนในสายวิชาชีพ ควรที่จะทำให้เริ่มที่ทำให้เรียนรู้ว่า เรียนเพื่ออะไร เรียนแล้วต้องนำไปใช้ ไม่ใช่ว่า เรียนแล้วทิ้ง เรียนแล้วลืม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น